เมื่อต้องประสบกับ ปัญหาเสียงดัง รบกวนจากแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆ คำถามที่จะผุดขึ้นมาคือ ต้องการใช้ ฉนวนกันเสียง มาแก้ปัญหาด้านเสียงที่ประสบอยู่ แต่ก็สงสัยว่าฉนวนกันเสียงที่ต้องการนั้นมีหลักการทำงานหรือกันเสียงได้อย่างไร ข้อเท็จจริงคือฉนวนกันเสียงไม่ได้กันเสียงทะลุผ่านอย่างที่เราเข้าใจกัน แต่ฉนวนกันเสียงซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแบบเส้นใย (fibrous) จะมีองค์ประกอบของช่องว่างหรือโพรงอากาศเล็กๆ ระหว่างเส้นใยของฉนวนแต่ละประเภท ซึ่งความพรุน (porosity) ของวัสดุนี้เอง ที่ทำหน้าที่ในการเก็บเสียงหรือดูดซับพลังงานเสียง (sound absorption) เมื่อคลื่นเสียงนั้นๆมากระทบกับผิววัสดุ และคลื่นเสียงหรือพลังงานเสียงที่ถูกดูดซับไว้ก็จะถูกเปลี่ยนกลายเป็นพลังงานความร้อนในที่สุด เราจึงรู้สึกได้ว่าระดับเสียงลดลงหรือเสียงดังเบาลง (โดยเฉพาะเสียงก้องหรือเสียงสะท้อน) ในห้องหรือบริเวณที่มีวัสดุประเภทฉนวนกันเสียงหรือฉนวนซับเสียงติดอยู่นั่นเอง

หลักการทำงานของ ฉนวนป้องกันเสียงรบกวน จะแตกต่างกับ ฉนวนดูดซับเสียง กล่าวคือ ฉนวนป้องกันเสียง จะมีผิวเรียบแข็งเพื่อป้องกันมิให้ คลื่นเสียง เดินทางผ่านจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งได้ แต่ ฉนวนดูดซับเสียง จะมีรูพรุนของเส้นใย หรือไฟเบอร์ของฉนวนในการยอมให้ เสียงเดินทางผ่านเข้าไปยังฉนวน ในขณะเดียวกันก็จะ ดูดซับพลังงานเสียง เอาไว้ส่วนหนึ่ง และเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน ทำให้ เสียงที่ผ่านฉนวน ออกมามีความแรง และคลื่นความถี่ที่ลดลง ส่งผลให้เสียงนั้นเบาลงไป