ห้องเก็บเสียง วัสดุคุณภาพจากประเทศเยอรมนี
ห้องเก็บเสียง
เมื่อนึกถึงการแก้ปัญหา เสียงดังในโรงงาน หรือเสียงดังในบ้านพักอาศัย หลายครั้งที่เราจะต้องนึกถึง “ห้องเก็บเสียง” เนื่องจากห้องเก็บเสียงหรือห้องกันเสียง สามารถออกแบบและติดตั้งให้จำกัดระดับความดังของแหล่งกำเนิดเสียงได้ดีมาก หากทำการวิเคราะห์ปัญหาด้านมลภาวะทางเสียงได้ถูกจุด และเลือกวัสดุกันเสียงได้ตรงตามสเป็ค ห้องเก็บเสียงจะสามารถลดปัญหาเสียงดังได้ดีกว่าวิธีอื่นๆทั้งหมด เพราะเสียงจะถูกดูดซับและปิดกั้นไม่ให้เดินทางออกมานอกห้องได้อย่างเด็ดขาด ทำให้แหล่งกำเนิดเสียงนั้น ทำงานได้อย่างปกติและพนักงานหรือผู้ใช้สอยประโยชน์ในพื้นที่นั้น ไม่ต้องทำการปรับพฤติกรรมในการทำงานหรืออยู่อาศัยแต่อย่างใด
กรณีศึกษาห้องเก็บเสียง จากประสบการณ์ของ บจก.นิวเทค อินซูเลชั่น
ห้องวางเครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้า (generator) ที่ไม่ได้ออกแบบให้เป็นห้องเก็บเสียง เมื่อเครื่องทำงานจะก่อให้เกิดเสียงดังภายในห้องถึง 95 dBA ส่วนด้านนอกห้องที่ระยะห่าง 2 m (ปิดประตู) ได้ยินเสียงดังสูงถึง 88 dBA เมื่อทำการออกแบบให้กลายเป็นห้องเก็บเสียง (พร้อมระบบแสงสว่างและระบบระบายความร้อนเพิ่มเติม) ทำให้เสียงในห้องลดลงเหลือเพียง 87 dBA และเสียงด้านนอกห้องที่จุดเดียวกัน 2m (ปิดประตู) ลดลงเหลือ 76 dBA ซึ่งในทางปฏิบัติจริงเราสามารถทำให้เสียงลดลงได้มากกว่านี้ หากลูกค้าเผื่องบประมาณสำหรับทำเรื่องลดเสียงดังไว้ตั้งแต่ตอนแรก
- จุดที่ต้องได้รับการพิจารณาเพื่อลดเสียงดัง ในห้องเก็บเสียงสำหรับเครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้า
- ลดเสียงดังจากแหล่งกำเนิดเสียงให้ได้มากที่สุด
- จัดทำแผ่นกันเสียงหรือม่านกั้นเสียงในจุดที่จำเป็น
- ติดตั้งฉนวนกันเสียงในจุดที่มีการสั่นหรือกำเนิดเสียง
- ติดแผ่นดูดซับเสียงใกล้พื้นที่ที่มีการกระพือของวัตถุ
- สำหรับท่อไอเสียหรือท่อลม ควรติดตั้ง silencers ช่วย
- ระยะทางระหว่างห้องวางเครื่องกับพื้นที่ทำงาน ยิ่งไกลยิ่งดี
- ตัวอย่างห้องเก็บเสียงเพื่อประโยชน์และกิจกรรมต่างๆ
- ห้องดูหนังฟังเพลง หรือห้องโฮมเธียเตอร์
- ห้องซ้อมดนตรี หรือห้องตัดแต่งเสียง ห้องอัด
- ห้องซ้อมดนตรี หรือห้องออกกำลังกายแบบแอโรบิค
- ห้องปั๊มโลหะ หรือห้องคอมเพรสเซอร์
- ห้องควบคุมระบบ หรือห้องคอนโทรล
- ห้องเก็บเสียงสำหรับเครื่องขัดชิ้นงาน
- ห้องเก็บเสียงสำหรับเครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้า