วิธีเลือกซื้อ แผ่นซับเสียง

แผ่นซับเสียง

เมื่อศึกษาข้อมูลและสรุปได้ว่าต้องเลือก แผ่นซับเสียง มาใช้แก้ปัญหาเสียงแน่นอนแล้ว ลำดับต่อไปคือการเลือกซื้อแผ่นซับเสียงเพื่อมาติดตั้งในพื้นที่ที่ต้องการลดพลังงานเสียงลง ซึ่งการเลือกแผ่นซับเสียงก็ไม่ได้เป็นเรื่องยากลำบากมากนัก เนื่องจากมีปัจจัยที่ต้องพิจารณาไม่กี่รายการได้แก่ ราคาแผ่นซับเสียง ค่าการดูดซับเสียงที่ระบุจากโรงงานผู้ผลิต ลักษณะเสียงที่เป็นปัญหา รูปแบบหรือวิธีการติดตั้ง สีสันและความสวยงามที่จะเข้ากับพื้นที่ใช้งาน การทำความสะอาด และความปลอดภัยต่อระบบหายใจ ทั้งในกรณีที่เป็นแผ่นซับเสียงแบบที่ใช้ในโรงงานและแผ่นซับเสียงที่ใช้ในอาคารพักอาศัย

แนวทางการเลือกแผ่นซับเสียงไปใช้งาน
1. แผ่นซับเสียงแบบมีรูพรุน (Porous Absorber)
1.1) แผ่นซับเสียงชนิดพรุนแบบแข็ง
เหมาะสำหรับซับเสียงในห้องหรือพื้นที่ที่มีความถี่สูงกว่า 1 KHz ยิ่งความถี่สูงจะยิ่งซับเสียงได้ดี ไม่เหมาะจะใช้งานกับพื้นที่ที่มีความถี่ต่ำกว่า 500 Hz แผ่นซับเสียงแบบนี้ได้แก่ แผ่นยางซับเสียงความหนาแน่นสูง ฟองน้ำที่มีน้ำหนักมาก
1.2) แผ่นซับเสียงชนิดพรุนแบบให้ตัว
เหมาะกับการลดเสียงก้องที่มีความถี่ระดับกลาง หรือช่วงประมาณ 250-500 Hz แต่ซับเสียงความถี่สูงได้ไม่ค่อยดี แผ่นซับเสียงแบบนี้ได้แก่ แผ่นยางสังเคราะห์น้ำหนักเบา ฟองน้ำที่มีความหนาแน่นต่ำกว่า 24 kg/m3

2. แผ่นซับเสียงแบบเฮ็ล์มโฮ้ลท์ (Helmholtz-Resonator Absorber)
แผ่นซับเสียงแบบนี้ส่วนใหญ่จะผลิตจากไม้หรือโพลียูรีเทน มีการเซาะร่องเป็นกะเปาะไว้ตรงกลาง โดยให้เส้นผ่าศูนย์กลางของรูมีความสัมพันธ์กับความยาวคลื่นที่มีปัญหา แผ่นซับเสียงในรูปแบบของเฮ็ล์มโฮ้ลท์ จะใช้ได้ผลดีมากในห้องหรือพื้นที่ที่มีความถี่เสียงต่ำๆ ประมาณ 125-250 Hz ปัจจุบันมีผู้ผลิตออกมาจำหน่าย ให้ผู้ซื้อได้เลือกใช้ตามความถี่ที่ตัองการ

3. แผ่นซับเสียงแบบแผ่นแข็ง (Panel Absorber)
แผ่นซับเสียงชนิดนี้มิได้ทำหน้าที่ซับเสียง หากแต่เป็นการนำไปใช้ร่วมกับแผ่นซับเสียงในข้อแรก (แผ่นซับเสียงแบบมีรูพรุน) กล่าวคือจะนำวัสดุนี้ไปกรุไว้ด้านหน้าแผ่นซับเสียงแบบรูพรุน โดยให้มีช่องว่าง (airgap) ระหว่างแผ่นเพื่อลดความเข้มเสียงก่อนที่ผ่านเข้าไปในแผ่นซับเสียงด้านหลัง วัสดุประเภทนี้ได้แก่ แผ่นซีเมนต์บอร์ด แผ่นไม้อัด แผ่นยิปซั่ม แผ่นคอมโพสิท ส่วนใหญ่แผ่นซับเสียงกลุ่มนี้จะใช้แก้ปัญหาเสียงที่มีความถี่ต่ำ 250 Hz ลงไปได้ดี

4. แผ่นซับเสียงแบบเจาะรู (Perforated-Panel Absorber)
แผ่นซับเสียงแบบเจาะรูจะใช้ร่วมกับแผ่นซับเสียงแบบรูพรุน ลักษณะการนำไปใช้งานจะเหมือนข้อที่สาม เพียงแต่แผ่นซับเสียงแบบนี้จะมีการเจาะรูมาจากโรงงาน เช่น แผ่นสแตนเลสเจาะรู แผ่นเหล็กเจาะรู หรือแผ่นยิปซั่มเจาะรู ทั้งนี้จะต้องมีแผ่นซับเสียงชนิดรูพรุน กรุอยู่ด้านในแผ่นเจาะรูเสมอ เพื่อทำหน้าที่ดูดซับเสียงซึ่งส่งผ่านแผ่นเจาะรูด้านหน้าเข้ามา แผ่นซับเสียงแบบนี้เหมาะกับความถี่กลางๆ คือ 500-800 Hz

5. แผ่นซับเสียงแบบม่าน (Curtain)
หลายกรณีที่จะพบว่าผ้าม่านก็ช่วยลดเสียงก้องหรือเสียงสะท้อนได้ดีระดับหนึ่ง แต่ต้องเป็นผ้าม่านที่มีเนื้อผ้าหนาพอสมควร และเป็นเนื้อผ้าที่มีการทอของเส้นใยแบบไม่แน่นจนเกินไป แต่ผ้าม่านก็ไม่นิยมนำมาใช้ทดแทนแผ่นซับเสียง เนื่องจากประสิทธิภาพในการดูดซับเสียงยากที่จะคาดเดา ขึ้นอยู่กับความหนาผ้า ลายทอ ขนาดของผ้าม่านในห้องหรือพื้นที่กำเนิดเสียง แต่สำหรับห้องประชุมที่ไม่ได้ใช้เครื่องขยายเสียง ผ้าม่านจะทำหน้าที่แผ่นซับเสียงได้ดีจนเป็นที่พึงพอใจระดับหนึ่ง

6. แผ่นซับเสียงแบบฟองน้ำยอดแหลม (Anechoic Wedges)
แผ่นซับเสียงแบบนี้รวมไปถึง ฟองน้ำรังไข่ ฟองน้ำสามเหลี่ยมยอดตัด ฟองน้ำสามเหลี่ยมปลายแหลม ข้อดีคือลดเสียงก้องเสียงสะท้อนที่เกิดจากการสนทนา หรือเสียงเครื่องจักรที่มีพลังานเสียงไม่มากนัก แต่มีความถี่เสียงรบกวนตั้งแต่ 250 Hz ขึ้นไปได้ดี แผ่นซับเสียงแบบนี้เป็นที่นิยม เนื่องจากราคาไม่สูง หาซื้อได้ง่าย ติดตั้งสะดวกเพราะแค่ทากาว แต่ไม่เหมาะกับพื้นที่ที่มีความชื้น หรือการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิบ่อย เช่น ในตู้ครอบลดเสียงเครื่องจักร ในท่อระบายลมร้อน พื้นที่ห้องคอมเพรสเซอร์ เป็นต้น

error: Content is protected !!
Call Now Buttonโทรสอบถาม 0989954650