Category Archives: บทความเรื่องเสียง

อ้นตรายจากเสียงมีอะไรบ้าง ฉนวนกันเสียง จึงมีความสำคัญ

ฉนวนกันเสียง

เสียงที่ดังเกินไป สามารถสร้างอันตรายต่อระบบการได้ยินของมนษย์ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายรวมถึงสุขภาพจิต ฉนวนกันเสียงช่วยลดเสียงดัง

ห้องเก็บเสียง

ห้องเก็บเสียง

เมื่อนึกถึงแนวทางการลดเสียงดังรบกวนที่หลายท่านเผชิญอยู่ ห้องเก็บเสียงมักจะถูกนึกขึ้นมาเป็นตัวเลือกแรกๆกันเลยทีเดียว ความหมายของห้องเก็บเสียงก็คือห้องที่ไม่ยอมให้เสียงทะลุผ่านผนังห้องออกไป ทำให้ผู้รับเสียงที่อยู่ภายนอกห้องไม่ได้ยินเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงหรือกิจกรรมการทำงานใดๆ

ม่านกันเสียง เครื่องจักร

ม่านกันเสียง

ม่านกันเสียง และ ผนังกันเสียงเป็นการแก้ปัญหา หรือลดระดับความดังเสียงที่ทางผ่านของเสียง (path) เหมือนกัน ต่างกันตรงที่ม่านกันเสียงจะเหมาะสมกับการติดตั้งรอบเครื่องจักรหรือแหล่งกำเนิดเสียงนั้นโดยตรง ทำให้ประหยัดพื้นที่หรือค่าใช้จ่ายได้มากกว่าการทำผนังกันเสียง ที่บางครั้งอาจจะต้องทำทั้งแนวยาวหลายสิบเมตรและต้องมีความสูงขึ้นไปด้านบนอีกหลายเมตร อีกประการคือม่านกันเสียงสามารถถอดเคลื่อนย้ายตามเครื่องจักรไปได้ ในกรณีที่มีการย้ายตำแหน่งเครื่องจักร ทำให้คุ้มค่ากว่าเพราะลงทุนครั้งเดียวแต่ใช้ได้ยาวนาน

ผนังกันเสียง

แผ่นกันเสียง

ผนังกันเสียงสามารถผลิตหรือทำขึ้นมาได้จากวัสดุหลากหลายชนิด ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งาน ความต้องการที่จะลดพลังงานเสียงหรือความดังเสียง รวมไปถึงงบประมาณหรือราคาที่ถูกกำหนดไว้ ผนังกันเสียงโดยทั่วไปจะมีลักษณะเป็นผนังคอมโพสิตหรือผนังที่ประกอบด้วยวัสดุมากกว่าหนึ่งประเภทขึ้นไป

ฉนวนกันเสียง เครื่องจักร

ฉนวนกันเสียง

ฉนวนกันเสียงเครื่องจักร ต้องการความหนาแน่นของเนื้อวัสดุที่สูงกว่า เพราะต้องปะทะกับพลังงานเสียงที่สูงมากต่อเนื่องกันตลอดเวลา (บางครั้ง 24 ชั่วโมง ตลอดระยะเวลา 365 วัน) ส่งผลให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญสำหรับงานโรงงาน เนื่องจากการหยุดผลิตเพื่อติดตั้งหรือเปลี่ยนฉนวน ส่วนเรื่องคุณสมบัติการไม่ติดไฟหรือไม่ลามไฟ ก็สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเรื่องของอายุการใช้งาน

ฉนวนกันเสียง ความจำเป็นในการลดปัญหาเสียงดังเกินมาตรฐาน

ฉนวนกันเสียง

ฉนวนกันเสียงไม่ได้กันเสียงทะลุผ่านอย่างที่เราเข้าใจกัน แต่ฉนวนกันเสียงซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแบบเส้นใย (fibrous) จะมีองค์ประกอบของช่องว่างหรือโพรงอากาศเล็กๆ ระหว่างเส้นใยของฉนวนแต่ละประเภท ซึ่งความพรุน (porosity) ของวัสดุนี้เอง ที่ทำหน้าที่ในการเก็บเสียงหรือดูดซับพลังงานเสียง (sound absorption)

3 แนวทางในการ แก้ปัญหาเสียงดัง

ฉนวนกันเสียง

ทราบหรือไม่ว่า การแก้ปัญหาเสียงดัง ที่เกิดขึ้นในโรงงานนั้น มีวิธีการอยู่ 3 แนวทาง ประกอบด้วย 1) sources treatment หรือการแก้ปัญหาที่แหล่งกำเนิดเสียงโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงเครื่องจักรหรือการดัดแปลงอุปกรณ์ก็ตาม 2) paths treatment หรือการแก้ปัญหาที่ทางผ่านของเสียง เช่น การทำกำแพงกันเสียง การกรุฉนวนซับเสียงที่ผนังห้อง 3) receivers treatment หรือการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงส่วนบุคคล เช่น ให้ผู้สัมผัสเสียงสวมใส่ earplugs หรือ earmuffs

ฉนวนกันเสียง วัสดุที่ใช้ แก้ปัญหาเสียงดัง มีอะไรบ้าง

ฉนวนกันเสียง

วัสดุที่ใช้ในการแก้ปัญหาเสียงดัง มีอะไรบ้าง เลือกยังไงดี วันนี้เรามีคำตอบ ในทางวิศวกรรมงานเสียงหรือ engineering noise control ได้แบ่งวัสดุสำหรับงานควบคุมเสียงออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ 1) วัสดุซับเสียง (sound absorption materials) วัสดุประเภทนี้จะมีรูพรุนหรือช่องว่างระหว่างเนื้อวัสดุ ที่สามารถดูดซับพลังงานเสียงและเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนแทน ทำให้พลังงานเสียงและระดับความดังเสียงลดต่ำลง เมื่อกระทบกับวัสดุประเภทนี้ สรุปก็คือวัสดุซับเสียงช่วยให้เสียงเบาลงนั่นเองค่ะ 2) วัสดุกันเสียง (soundproofing materials) ตัววัสดุจะมีความหนาแน่นสูงและมีทั้งแบบผิวเรียบและผิวหยาบ ถึงแม้เนื้อวัสดุจะไม่มีคุณสมบัติในการซับเสียง แต่ด้วยความหนาแน่นที่มีมากหรือมีน้ำหนักมากนั่นเอง ที่ช่วยสะท้อนเสียงกลับหรือกันคลื่นเสียงไม่ให้ทะลุผ่านตัววัสดุไปได้หรือผ่านไปได้น้อยที่สุด ทำให้วัสดุประเภทนี้นิยมนำมาบัง กั้น ปิด ทางที่มีเสียงผ่านเพื่อช่วยให้เสียงเบาลงได้เช่นกัน

ฉนวนกันเสียงดัง ป้องกันเสียงดัง ลดเสียงสะท้อน

ฉนวนกันเสียง

ฉนวนกันเสียง สำคัญมากสำหรับผู้อยู่อาศัยหรือผู้ใช้งานอาคาร โรงงานหรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆที่ประสบปัญหาด้านเสียง ทั้งเรื่องเสียงดังเกินกว่ากฎหมายกำหนด เสียงก้อง และ เสียงสะท้อนภายในอาคาร เสียงจากการทำงานของเครื่องจักรในโรงงาน และเสียงรบกวนภายในห้องอัดเสียง หรือ ห้องบันทึกเทปโทรทัศน์ เป็นต้น

ติดตั้ง ฉนวนกันเสียง ห้อง Generetor

ฉนวนกันเสียง ติดตั้ง เพื่อลดเสียงดัง ในห้อง Generator ช่วยลดเสียงดัง และประหยัดพลังงาน

ติดตั้งระบบ ลดเสียงดังเครื่องยนต์

ลดเสียงดังเครื่องยนต์

ระบบ ลดเสียงดังเครื่องยนต์ ปัญหาเสียงดังในรถยนต์นั้น จัดเป็นปัญหาเฉพาะตัวบุคคล โดยส่วนมากมักเกิดจากรถมือสอง หรือรถคลาสสิค ที่มีอายุการใช้งานมายาวนาน และเจ้าของใหม่นำมาฟื้นคืนชีพด้วยความชอบส่วนตัวหรือเป็นงานอดิเรก จึงจำเป็นต้องมีการกรุฉนวนกันเสียงรอบตัวถังใหม่ เพื่อให้เสียงลมและเสียงเครื่องยนต์ผ่านเข้ามาภายในห้องโดยสารได้น้อยที่สุด เมื่อรถวิ่งหรือเครื่องยนต์ทำงาน แต่ในบางกรณีก็พบว่า เจ้าของรถบางท่านก็ยังมีความต้องการให้เสียงภายในห้องโดยสารรถยนต์ป้ายแดงของตัวเองเงียบลงไปอีก หรือต้องการกรุ ฉนวนกันเสียง เพิ่ม เพื่อต้องการอรรถรสในการฟังเพลงจากเครื่องเสียงรถยนต์ที่มีประสิทธิภาพสูงมากกว่าของเดิมที่ติดรถมา “เพราะเรา เข้าใจเรื่องเสียง” เป็นสโลแกนที่ยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า นิวเทค อินซูเลชั่น เข้าใจและหาทางออกเกี่ยวกับ ปัญหาเรื่องเสียง ให้ลูกค้าได้ทุกระดับ แม้แต่ปัญหาเสียงดัง ในห้องโดยสารรถยนต์ส่วนบุคคล หรือ ปัญหาเสียงดังในรถโดยสารรับจ้างไม่ประจำทาง ที่ติดระบบเครื่องเสียงรถยนต์แบบไฮเอ็นด์ เพราะการกรุฉนวนกันเสียง ในรถยนต์นั้นมีอะไรมากกว่าแค่การ กรุแผ่น damping กันเสียง ที่หลายท่านเข้าใจกัน ซึ่งทางเรายินดีให้คำปรีกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ระบบลดเสียง ที่ นิวเทค อินซูเลชั่น ให้บริการในรถยนต์ได้แก่ วิเคราะห์และออกแบบฉนวนกันเสียง เพื่อตัดเสียงลมและเสียงภายนอก วิเคราะห์และออกแบบฉนวนลดเสียง เพื่อเพิ่มเสียงทุ้มนุ่มในการฟังเพลง กรุฉนวนซับเสียงตามจุดต่างๆของรถยนต์ เพื่อลดเสียงที่เกิดจากการสั่นสะเทือน กรุฉนวนลดเสียงและกันความร้อนใต้หลังคารถยนต์ ลดภาระการทำงานของแอร์ ออกแบบติดตั้งฉนวนซับเสียงห้อง car theater ทั้งระบบ Sound: […]

ติดตั้งระบบ ลดเสียงดังในอาคาร

ลดเสียงดังในอาคาร

ระบบ ลดเสียงดังในอาคาร ติดตั้งระบบลดเสียงในอาคาร ปัญหาเรื่องเสียงดัง ปัญหาเสียงก้อง ปัญหาเสียงเบา ปัญหาเสียงดังรำคาญ จากอาคารส่วนใหญ่ จะเกิดขึ้นกับ ปัญหาเสียงดังในห้องประชุม ปัญหาเสียงดังในห้องสัมมนา ปัญหาเสียงดังในห้องแสดงสินค้า ปัญหาเสียงดังในห้องนั่งเล่น ปัญหาเสียงดังในห้องนอน ปัญหาเสียงดังในห้องทำงาน ปัญหาเสียงดังในห้องบันทึกเสียง ปัญหาเสียงดังในห้องคอนโทรล และ ปัญหาเสียงดังในห้องน้ำ เป็นต้น ด้วยปัญหาเสียงที่คล้ายกันแต่ไม่เหมือนกันในรายละเอียด การแก้ปัญหาเสียงดังภายในอาคาร ส่วนมากจะใช้ ฉนวนกันเสียง หรือ แผ่นซับเสียง ที่มีความหนาไม่เกิน 50-100 mm และมีความหนาแน่น 48-96 K ก็อาจจะเพียงพอในการแก้ปัญหาเรื่องเสียงดังแล้ว แต่สำหรับห้องที่ต้องการเก็บเสียงจริงๆ เช่น เก็บเสียงดังในห้องซ้อมดนตรี หรือ เก็บเสียงดังในห้องอัด จำเป็นต้องใช้ วัสดุดูดกลืนเสียง คุณภาพสูงร่วมกับ แผ่นซับเสียง เพื่อให้เสียงภายในห้องนั้นออกมาข้างนอกให้น้อยที่สุด และให้เสียงภายนอกเข้าไปรบกวนได้น้อยที่สุดเช่นกัน (ในห้องจะอยู่ประมาณ 30-35 dBA) สำหรับระดับเสียงในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญของการใช้ชีวิตประจำวันของคนเรานั้น องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้เสียงภายนอกอาคารช่วงเวลากลางวันต้องไม่เกิน 55 dBA และภายในอาคารต้องไม่เกิน 45 […]

ติดตั้งระบบ ลดเสียงดังเครื่องจักร

ฉนวนกันเสียงพัดลมอุตสาหกรรม

ระบบ ลดเสียงดังเครื่องจักร   ติดตั้งระบบลดเสียงเครื่องจักร เพราะหูของคนเราจะได้ยินเสียงที่ระดับความดัง 0-140 dBA และความถี่เสียงที่ 20-20,000 Hz เครื่องจักรและอุปกรณ์หลายประเภทในโรงงานที่ก่อกำเนิดเสียงดังตั้งแต่ 85-110 dBA เมื่อต้องทำงานหรือเริ่มกระบวนการผลิต หรือแม้แต่เสียงของเครื่องจักรที่ไม่ได้ดังเกินไปกว่าระดับที่กฎหมายกำหนด (โรงงานที่ทำงาน 8 ชั่วโมงต้องไม่เกิน 80 dBA) แต่ผู้ปฏิบัติงานต้องอยู่กับเครื่องจักรนั้นเป็นเวลานานๆติดต่อกัน ก็จะทำให้มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับการได้ยินในที่สุด เสียงที่เราได้ยินจากการทำงานของเครื่องจักรมีทั้งเสียงที่เกิดจากการสั่นของตัวเครื่องจักรเอง การสั่นของอุปกรณ์แวดล้อม การเสียดสีกันของลูกปืน และโลหะ การกระทบกันของชิ้นงาน การกระทบกันของชิ้นงานกับผนังโลหะ เสียงกระทบของโลหะและอากาศ ฯลฯ การติดตั้งระบบลดเสียงดังจากเครื่องจักร ( ฉนวนกันเสียง แบบถอดได้ ) จึงมีปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงดังต่อไปนี้ ระดับความดังของเสียงจากเครื่องจักร (กำลังของเสียงจากแหล่งกำเนิด) ระดับความเข้มของเสียงที่เครื่องจักรหรือจุดกำเนิดเสียงหลัก ระยะทางระหว่างจุดกำเนิดเสียงกับจุดที่ตัองการวัดผลภายหลังการแก้ปัญหาเรื่องเสียง การแทรกสอดของเสียงจากอุปกรณ์หรือสิ่งก่อสร้างอื่นในบริเวณที่วางเครื่องจักร นิวเทค อินซูเลชั่น ให้บริการ ติดตั้งระบบลดเสียงดังจากเครื่องจักร ดังนี้ ฉนวนกันเสียงพัดลมอุตสาหกรรม (blower) ฉนวนกันเสียงสำหรับหม้อบดขนาดใหญ่ แผ่นเก็บเสียงเครื่องกัดลายอัญมนีและเครื่องประดับ แผ่นซับเสียงสำหรับเครื่องคอมเพรสเซอร์ แผ่นกันเสียงเครื่องบดย่อยพลาสติคขนาดเล็ก-ขนาดกลาง ม่านกั้นเสียงเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (fire pump) […]

ติดตั้งระบบ ลดเสียงดังโรงงาน

ฉนวนกันเสียงโรงงาน

ระบบ ลดเสียงดังโรงงาน   ติดตั้งระบบลดเสียงในโรงงาน หลายโรงงานไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่พบว่ากระบวนการผลิตได้สร้าง ปัญหาเรื่องเสียงดัง ให้กับผู้ปฏิบัติงานหรือชุมชนที่อยู่รอบบริเวณโรงงานก็ต่อเมื่อถูกร้องเรียนจากพนักงานหรือชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ เพราะในโรงงานที่มีกระบวนการผลิต จะมีอุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียงดังกว่า 85 dBA อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่ง องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้เสียงที่ดังเกินกว่า 85 dBA (ทุกย่านความถี่) เป็นอันตรายต่อมนุษย์ หากผู้ออกแบบหรือเจ้าของโรงงานได้คำนึงถึงเรื่องเสียงไว้ตั้งแต่ตอนก่อสร้างโรงงาน ก็มักจะมีการระวังป้องกัน พร้อมกับ ติดตั้งระบบลดเสียงดัง หรือ ระบบดูดซับเสียง ฉนวนกันเสียง ไว้แล้ว แต่ในความเป็นจริงแล้วโรงงานส่วนใหญ่ ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องนี้ในตอนต้นด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น เมื่อสร้างโรงงานใหม่ยังอยู่ห่างไกลจากชุมชน เรื่องเสียงดังจึงไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวล และการตัดระบบลดเสียงออกไป ก็ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างได้อีก เมื่อเวลาผ่านไปและโรงงานถูกล้อมรอบด้วยชุมชน ปัญหาเรื่องเสียงดังจากการผลิต ก็ค่อยๆเพิ่มระดับความรุนแรงและชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะโรงงานที่มีระบบ ISO18001 การติดตั้งระบบลดเสียงในโรงงาน สามารถทำได้หลายจุดขึ้นอยู่กับปัญหาหลักและสภาพแวดล้อมหน้างานจริง รวมถึงงบประมาณที่ลูกค้าตั้งไว้ โดย นิวเทค อินซูเลชั่น มีบริการแก้ปัญหาเสียงดังในโรงงานดังต่อไปนี้ ห้องเก็บเสียงสำหรับห้องควบคุมระบบเพื่อลดเสียงดังจากการผลิต ผนังดูดซับเสียงเพื่อลดระดับความดังในพื้นที่การผลิต ผนังกั้นเสียงเฉพาะพื้นที่หรือเฉพาะเครื่องจักรเพื่อชีวอนามัยของพนักงาน ฉนวนกันเสียงแบบถอดได้สำหรับเครื่องจักรแต่ละประเภท กล่องครอบลดเสียงสำหรับเครื่องจักรเฉพาะทางที่ไม่สามารถติดฉนวนกันเสียงได้ ม่านลดเสียงสำหรับพื้นที่เสียงดังไม่มาก และงบประมาณจำกัด แผ่นกันเสียงสะท้อนและเสียงก้องในพื้นที่ทดลองสินค้าบางประเภท […]

บริการ ออกแบบระบบลดเสียงดัง

ฉนวนกันเสียงดัง

ออกแบบระบบลดเสียงดัง   ออกแบบระบบลดเสียง เสียงดังที่ก่อให้เกิดความรำคาญทั้งในโรงงาน และ เสียงดังที่บ้านพักอาศัย มีรูปแบบและคุณลักษณะจำเพาะที่ไม่เหมือนกัน ส่งผลให้วิธีการแก้ปัญหา และการเลือกใช้วัสดุแตกต่างกัน การออกแบบระบบลดเสียงดัง เป็นอีกขั้นตอนที่จำเป็นในกระบวนการลดเสียง ฉนวนกันเสียง เพราะขั้นตอนการออกแบบระบบลดเสียงจะเกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่าย ค่าวัสดุ และระยะเวลาในการทำงาน การแก้ปัญหาเรื่องเสียงดัง การออกแบบระบบลดเสียงเป็นกระบวนการที่จะกระทำต่อจาก งานวิเคราะห์แหล่งกำเนิดเสียง (บางกรณีอาจเริ่มทำไปพร้อมกันได้) ซึ่งปัจจัยหลักที่ต้องคำนึงถึงสำหรับการออกแบบคือ เสียงหลัก (primary noise source) เสียงรอง (secondary noise source) เสียงแวดล้อม (background noise) วัตถุหรือรูปร่างของแหล่งกำเนิดเสียง ความต้องการที่แท้จริงในการแก้ปัญหาเสียงของทางลูกค้า ทฤษฎีในการแก้ปัญหาและข้อจำกัดหน้างานจริง งบประมาณที่ลูกค้าจัดสรรไว้ เพื่อแก้ปัญหาเรื่องเสียงดัง ระยะเวลาที่ทำงานแก้ปัญหาเสียงดังได้ (เริ่มจนจบโครงการ) การแก้ปัญหาเรื่องเสียงดัง ส่วนใหญ่จะเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุ เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงเรื่อง เสียงดัง หรือ เสียงที่ก่อให้เกิดความรำคาญ ตั้งแต่ต้น เช่น ตอนสร้างโรงงาน สร้างสถานที่วางเครื่องจักร หรือสร้างบ้านพักอาศัย ทำให้พบปัญหาด้านเสียงในภายหลังเมื่อมีการใช้งานเครื่องจักรหรือสถานที่ จุดนี้เองที่ทำให้ขั้นตอนการออกแบบระบบลดเสียง ต้องกระทำด้วยความละเอียดรอบคอบและถูกต้องตามหลักวิชา เพราะการออกแบบระบบลดเสียงที่ขาดประสบการณ์ อาจทำให้เสียงหลักเงียบ แต่ปัญหาเสียงรองหรือเสียงแฝงจะเกิดขึ้นมาแทน […]

วิเคราะห์ แหล่งกำเนิดเสียงดัง

ฉนวนกันเสียงโรงงาน

แหล่งกำเนิดเสียงดัง   วิเคราะห์ แหล่งกำเนิดเสียงดัง เมื่อมี ปัญหาเรื่องเสียงดังในโรงงาน หรือ เสียงดังในอาคาร ที่เกินกว่ากฎหมายกำหนด หรือ เสียงนั้นได้สร้างความรำคาญ ให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้ที่ต้องใช้สถานที่เหล่านั้น สิ่งสำคัญในการ แก้ปัญหาเรื่องเสียงดัง คือ การวิเคราะห์หารายละเอียดเสียง จากแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆในบริเวณนั้น ทั้ง ระดับความดังของเสียง ความเข้มของเสียง และ ความถี่ของเสียง เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของ มลภาวะทางเสียง ณ จุดนั้น หลายครั้งที่ผู้เกี่ยวข้อง หรือเจ้าของสถานที่ โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ มักจะละเลยเรื่องสำคัญนี้ไป โดยมุ่งแต่การเลือกใช้ฉนวนกันเสียงทั่วไป ที่มีขายตามท้องตลาด ในรูปแบบต่างๆ เช่น แผ่นกันเสียง แผ่นซับเสียง แผ่นเก็บเสียง และ ฉนวนกันเสียง โดยไม่ทราบว่า ทำไมถึงต้องใช้วัสดุเหล่านั้น มาแก้ปัญหาเรื่องเสียงดัง ที่เผชิญอยู่ ทำให้การแก้ปัญหาเรื่องเสียงไม่ตรงจุด ไม่เห็นผล เกิดเป็นค่าใช้จ่ายที่สูญเปล่าตามมา การทำแผนที่เสียง(sound map) หรือ noise path ด้วยเครื่องมือที่เที่ยงตรง โดย ผู้เชี่ยวชาญด้านเสียง […]

วัสดุฉนวนกันเสียงดัง

ฉนวนกันเสียงโรงงาน

วัสดุฉนวนกันเสียงดัง หลายท่านคงเคยสงสัยว่าฉนวนกันเสียงที่นำมาใช้งาน ทั้งสำหรับดูดซับเสียง และลดเสียงดัง ไม่ว่าจะที่บ้าน โรงงาน หรืออาคารสาธารณะนั้น ทำมาจากวัสดุอะไรบ้าง แต่ละประเภทมีข้อดีข้อด้อยอย่างไร ทางนิวเทค อินซูเลชั่น ผู้เชี่ยวชาญด้านฉนวนกันเสียงรายหนึ่งของเมืองไทย ยินดีแนะนำวัสดุยอดนิยมที่ไม่ใช่วัสดุกันเสียงแบบสั่งทำพิเศษ สำหรับทำงานฉนวนกันเสียงในบ้านเราให้ทราบกัน ดังนี้ 1. ฉนวนใยแก้วความหนาแน่นต่ำ (Glass Wool) ฉนวนกันเสียงประเภทนี้พบเห็นได้ทั่วไป ตามร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้างและห้างร้านที่จำหน่ายเกี่ยวกับฉนวนกันเสียง ผลิตจากใยแก้วเส้นสั้นขึ้นรูปด้วย binder ที่ทำให้ฉนวนมีความหนาและรูปร่างตามที่ผู้ผลิตต้องการ ที่พบเห็นส่วนใหญ่จะมีความหนาแน่นขั้นต่ำที่ 24 kg/m3 และไม่เกิน 48 kg/m3 (สำหรับสเป็คพิเศษหรือสั่งผลิต เริ่มตั้งแต่ 60 kg/m3 ไปจนถึง 96 kg/m3 )ฉนวนกันเสียงแบบนี้มีข้อดีคือราคาไม่แพง ไม่ติดไฟ หาซื้อได้ง่าย มีค่า NRC และ STC เพียงพอกับการแก้ปัญหาเสียงดังรำคาญแบบไม่รุนแรง เช่น เสียงดังจากบ้านที่มีผนังติดกัน หรือ ผนังกันเสียงสำหรับบางพื้นที่ที่เปิดโล่งในโรงงาน 2. ฉนวนใยแก้วความหนาแน่นสูง (Needle Mat) ในเมืองไทยฉนวนใยแก้วความหนาแน่นสูง ยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายและนิยมใช้กันมากนัก […]

การ แก้ปัญหาเสียงดัง ในโรงงาน

แก้ปัญหาเสียงดัง

แก้ปัญหาเสียงดัง ในโรงงาน วิเคราะห์ปัญหาเสียงดังและแนะนำวิธีการแก้ไข – Acoustical Consultant นิวเทค อินซูเลชั่น ยินดีให้คำปรึกษาและแนะนำวิธีการแก้ปัญหาเสียงดัง ทั้งในโรงงานและอาคารพักอาศัย ด้วยประสบการณ์และวัสดุกันเสียงคุณภาพจากเยอรมนี ทำให้เราแก้ปัญหามลภาวะทางเสียงให้ลูกค้าได้ตรงจุด ด้วยค่าใช้จ่ายที่น้อยที่สุด ตามระยะเวลาการทำงานที่ลูกค้าต้องการ ไม่ว่าปัญหาด้านเสียงของท่านจะเกิดจากเครื่องจักรในโรงงาน กระบวนการผลิต และโครงสร้างหรือส่วนประกอบต่างๆของอาคารที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียง เราสามารถลดเสียงดังเหล่านี้ลงได้ในระดับที่ท่านต้องการ (ขึ้นอยู่กับเสียงแวดล้อมในบริเวณนั้น) ทำไมต้องวิเคราะห์ปัญหาเสียงดังก่อนลงมือแก้ปัญหา ช่วยให้ทราบถึงแหล่งกำเนิดเสียงหลักและแหล่งกำเนิดเสียงรอง ด้วยเครื่องมือวัดเสียงที่แม่นยำ จะทำให้ทราบระดับความดังเสียงและคลื่นความถี่เสียง ทำให้เลือกฉนวนกันเสียงหรือฉนวนซับเสียง ได้สอดคล้องกับงบประมาณที่ลูกค้ามีอยู่ ทำให้ทราบถึงระดับความน่าจะเป็นและค่าใช้จ่ายในการทำโครงการลดเสียงดัง ช่วยประเมินระยะเวลาในการทำงานของการติดตั้งระบบลดเสียง และช่วงเวลาที่ต้องเริ่มโครงการ ช่วยให้มีทางเลือกในการลดเสียงดังมากกว่าหนึ่งทางเลือก เช่น การแก้ปัญหาทางกลแทนการซับเสียง ทำให้ทราบถึงอุปสรรคหรือข้อจำกัดจริงหน้างาน ก่อนลงมือติดตั้งระบบลดเสียงในโรงงานหรืออาคาร รูปแบบในการวิเคราะห์ปัญหาเสียงดัง สำรวจระดับเสียงทั้งพื้นที่ของแหล่งกำเนิดเสียง (comprehensive sound survey) จัดทำแผนที่เสียง ในบริเวณโรงงาน (complete noise mapping) ศึกษาความเป็นไปได้ในการติดตั้งระบบลดเสียงแบบต่างๆ (soundproof feasible study) เพราะการแก้ปัญหาเสียงดังทั้งในโรงงานและในอาคาร ไม่ใช่แค่การเลือกฉนวนกันเสียงไปหุ้มหรือไปบังแนวทางการเคลื่อนตัวของคลื่นเสียง แต่ต้องเข้าใจถึงสาเหตุหลักที่แท้จริงของปัญหาด้านเสียงนั้น เพื่อจะทำการแก้ปัญหาให้ถูกจุดด้วยค่าใช้จ่ายที่น้อยสุดและระยะเวลาการทำงานที่สั้นสุด อย่าปล่อยให้ความไม่เข้าใจปัญหาด้านเสียงดัง เป็นสาเหตุที่ต้องละเลยปัญหามลภาวะทางเสียงไป เพราะประสาทหูและระบบการได้ยินที่เสียหายแล้ว ไม่สามารถฟื้นฟูให้กลับมาเหมือนเดิมได้อีก […]

รวมบทความเก่าๆ เมนูฉนวนกันเสียง

ลดเสียงดังเครื่องยนต์โรงงาน

ปัญหาเสียงดัง > เสียงดังจากการผลิตในโรงงาน > เสียงดังในห้องควบคุม > เสียงดังจากท่อลำเลียง > เสียงดังจากเครื่องยนต์/เครื่องปั่นไฟ > เสียงดังจากเครื่องบด/สับ/ย่อย > เสียงดังจากพัดลมอุตสาหกรรม > เสียงดังจากคอมเพรสเซอร์ > เสียงดัง/ก้อง/สะท้อนภายในอาคาร บริการงานเสียง > วิเคราะห์แหล่งกำเนิดเสียง > ออกแบบระบบลดเสียง > ติดตั้งฉนวนกันเสียง > ติดตั้งระบบลดเสียงในโรงงาน > ติดตั้งระบบลดเสียงเครื่องจักร > ติดตั้งระบบลดเสียงในอาคาร > ติดตั้งระบบลดเสียงในรถยนต์ สินค้าฉนวนกันเสียง > ม่านกันเสียงแบบถอดได้ > ฉนวนกันเสียงแบบถอดได้ > ผนังกันเสียง > กล่องคลอบลดเสียง > อคูสติคบานเกล็ด > ห้องเก็บเสียง > ประตูเก็บเสียง > ท่อเก็บเสียง

คำถาม-ตอบ ฉนวนกันเสียง

แก้ปัญหาเสียงดังโรงงาน

หลากหลาย คำถาม-ตอบ ฉนวนกันเสียง ? ฉนวนกันเสียงและฉนวนซับเสียง เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ? A: ไม่เหมือนกันครับ ฉนวนกันเสียงใช้เรียกฉนวนที่ออกแบบมาให้ป้องกันคลื่นเสียงทะลุผ่าน คือกักเสียงไว้ให้อยู่ด้านนอก แต่ฉนวนซับเสียงคือฉนวนที่ออกแบบและผลิตมาให้คลื่นเสียงผ่านได้แต่จะเปลี่ยนพลังงานเสียงส่วนหนึ่งที่ผ่านเข้าไปเป็นพลังงานความร้อน และปล่อยให้พลังงานเสียงส่วนที่เหลือผ่านออกมา กลายเป็นเสียงในระดับที่อ่อนตัวลงมา อยู่ในขั้นที่ปลอดภัยต่อหูหรืออยู่ในระดับที่เราต้องการ (ไม่รำคาญ) แล้วนั่นเอง ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาจัดเป็นฉนวนซับเสียงด้วยหรือไม่ ? A: ถ้าหมายถึงฉนวนหุ้มฟอยล์ที่ใช้สะท้อนความร้อนบนฝ้า ในทางการแก้ปัญหาเสียงดังของภาคอุตสาหกรรมจะไม่พิจารณาว่าเป็นฉนวนซับเสียงเนื่องจากฟอยล์ที่หุ้มฉนวนอยู่จะทำการสะท้อนเสียง และฉนวนกันความร้อนที่กล่าวมานี้ส่วนใหญ่จะมีความหนาแน่นที่ 24K และ 48K ซึ่งอาจจะไม่พอในการซับเสียงสำหรับงานบางประเภท อีกเรื่องคือฉนวนเหล่านี้จะอยู่ในรูปม้วนไม่ได้อยู่ในรูปแผ่น ซึ่งไม่สะดวกต่อการนำมาใช้ในการทำผนังกันเสียง ฉนวนกันความร้อนเครื่องจักรนำมาใช้เป็นฉนวนซับเสียงได้หรือไม่ ? A: ต้องดูว่าฉนวนกันความร้อนเครื่องจักรนั้นเป็นฉนวนประเภทไหน เป็นแบบเส้นใย โฟม ยาง หรือว่าลักษณะแข็งแต่มีรูพรุนเหมือนอิฐทนไฟ โดยมากเรื่องฉนวนกันเสียงเราจะพิจารณาค่า NRC (Noise Reduction Coefficient) และค่า STC (Sound Transmission Class) ก่อน หากไม่แน่ใจว่าใช้แทนกันได้หรือไม่ ให้ขอเอกสารที่แสดงค่าดังกล่าวจากผู้ผลิตฉนวนนั้นเพื่อความแน่ใจ กล่องครอบลดเสียงเครื่องจักร จะทำให้เกิดความร้อนสะสมหรือไม่ ? A: กล่องครอบลดเสียงดังจากเครื่องจักรที่ออกแบบไม่ถูกต้อง […]

อันตรายจากเสียงดัง ที่เกินเกณฑ์มาตรฐาน

เสียงดังคอมเพลสเซอร์

อันตรายจากเสียงดัง เสียง (sound) คือ พลังงานรูปหนึ่ที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของโมเลกุลของอากาศ ทำให้เกิดการอัดและขยาย สลับกันของโมเลกุลอากาศ ความดันบรรยากาศจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงตามการเคลื่อนที่ของโมเลกุลอากาศ เรียกว่า คลื่นเสียง เสียงดัง (Noise) หมายถึง เสียงชึ่งไม่เป็นที่ต้องการของคนเพราะทำให้เกิดการรบกวนการรับรู้เสียงทีต้องการ ความถี่ของเสียง (Frequency of sound) หมายถึง จำนวนครั้งของการเปลี่ยนแปลงความดันบรรยากาศ ตามการอัดและขยายของโมเลกุลอากาศในหนึ่งวินาที หน่วยวัด คือ รอบต่อวินาที หรือ เฮิรตช์ (Hertz ; Hz) ความดันเสียง (sound pressure) หมายถึง ค่าความดันของคลื่นเสียงที่เปลี่ยนแปลงไปจากความดันบรรยากาศปกติ ซึ่งค่าความดันที่เปลี่ยนแปลงมากที่สุด คือ ค่าความสูงคลื่นหรือแอมปลิจูด การตอบสนองของหูต่อความดันเสียงไม่ได้มีลักษณะเป็นเส้นตรง แต่มีความสัมพันธ์นลักษณะของลอกาลิทึม (Logarl1thm) ดังนั้น ค่าระดับความดันเสียง ที่อ่านได้จากการตรวจวัดโดยเครื่องวัดเสียงนั้น เป็นค่าทีได้จากการเปรียบเทียบกับความดันเสียงอ้างอิงแล้ว มีหน่วยวัดเป็น เดชิเบล (decibel : dB) เดซิเบลเอ dB(A) คือ สเกลของเครื่องวัดเสียงที่สร้างเลียนแบบลักษณะการทำงานของหูมนุษย์ โดยจะกรองเอาความถี่ต่ำ และความถี่สูงของเสียงที่เกินกว่ามนุษย์จะได้ยินออกไป […]

error: Content is protected !!
Call Now Buttonโทรสอบถาม 0989954650