ติดตั้งระบบ ลดเสียงดังโรงงาน

ฉนวนกันเสียงโรงงาน

ระบบ ลดเสียงดังโรงงาน

  • ผู้เชี่ยวชาญฉนวนกันเสียง

 

ติดตั้งระบบลดเสียงในโรงงาน หลายโรงงานไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่พบว่ากระบวนการผลิตได้สร้าง ปัญหาเรื่องเสียงดัง ให้กับผู้ปฏิบัติงานหรือชุมชนที่อยู่รอบบริเวณโรงงานก็ต่อเมื่อถูกร้องเรียนจากพนักงานหรือชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ เพราะในโรงงานที่มีกระบวนการผลิต จะมีอุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียงดังกว่า 85 dBA อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่ง องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้เสียงที่ดังเกินกว่า 85 dBA (ทุกย่านความถี่) เป็นอันตรายต่อมนุษย์ หากผู้ออกแบบหรือเจ้าของโรงงานได้คำนึงถึงเรื่องเสียงไว้ตั้งแต่ตอนก่อสร้างโรงงาน ก็มักจะมีการระวังป้องกัน พร้อมกับ ติดตั้งระบบลดเสียงดัง หรือ ระบบดูดซับเสียง ฉนวนกันเสียง ไว้แล้ว แต่ในความเป็นจริงแล้วโรงงานส่วนใหญ่ ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องนี้ในตอนต้นด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น เมื่อสร้างโรงงานใหม่ยังอยู่ห่างไกลจากชุมชน เรื่องเสียงดังจึงไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวล และการตัดระบบลดเสียงออกไป ก็ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างได้อีก เมื่อเวลาผ่านไปและโรงงานถูกล้อมรอบด้วยชุมชน ปัญหาเรื่องเสียงดังจากการผลิต ก็ค่อยๆเพิ่มระดับความรุนแรงและชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะโรงงานที่มีระบบ ISO18001

การติดตั้งระบบลดเสียงในโรงงาน สามารถทำได้หลายจุดขึ้นอยู่กับปัญหาหลักและสภาพแวดล้อมหน้างานจริง รวมถึงงบประมาณที่ลูกค้าตั้งไว้ โดย นิวเทค อินซูเลชั่น มีบริการแก้ปัญหาเสียงดังในโรงงานดังต่อไปนี้

  • ห้องเก็บเสียงสำหรับห้องควบคุมระบบเพื่อลดเสียงดังจากการผลิต
  • ผนังดูดซับเสียงเพื่อลดระดับความดังในพื้นที่การผลิต
  • ผนังกั้นเสียงเฉพาะพื้นที่หรือเฉพาะเครื่องจักรเพื่อชีวอนามัยของพนักงาน
  • ฉนวนกันเสียงแบบถอดได้สำหรับเครื่องจักรแต่ละประเภท
  • กล่องครอบลดเสียงสำหรับเครื่องจักรเฉพาะทางที่ไม่สามารถติดฉนวนกันเสียงได้
  • ม่านลดเสียงสำหรับพื้นที่เสียงดังไม่มาก และงบประมาณจำกัด
  • แผ่นกันเสียงสะท้อนและเสียงก้องในพื้นที่ทดลองสินค้าบางประเภท
  • ตู้เก็บเสียงสำหรับเครื่องปั่นไฟ หรือ fire pump
  • ระบบดักเสียงหรือ silencer สำหรับระบบปรับอากาศหรือระบบลม

Sound:

มาตรฐานของ ISO 2204 (International Organization for Standardization) แบ่งการวัดเสียงออกเป็น 3 ประเภทคือ วิธีการสำรวจ (the survey method) วิธีการทางวิศวกรรม (the engineering method) และ วิธีการวัดเสียงอย่างละเอียด (the precision method) ทั้ง 3 วิธีการนี้จะแตกต่างกันที่เครื่องมือการวัดเสียง เวลาที่ใช้วัดเสียง และจุดที่วัดเสียง ซึ่งการจะเลือกใช้วิธีการวัดเสียงประเภทใดนั้น ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และงบประมาณของแต่ละหน่วยงาน

error: Content is protected !!
Call Now Buttonโทรสอบถาม 0989954650